ทัวร์กาแฟรอบโลก 4 ทวีปอเมริกากลาง ครั้งก่อนเราพูดถึงทัวร์กาแฟรอบโลกของทวีปอเมริกาเหนือกันไปแล้ว วันนี้เราจะพูดถึงทวีปอเมริกากลางกันบ้างว่า การปลูกกาแฟในแต่ละประเทศมีลักษณะอย่างไรบ้าง ประเทศไหนในทวีปอเมริกากลางมีการปลูกกาแฟกันบ้าง

ทัวร์กาแฟรอบโลก 4 : ทวีปอเมริกากลาง 

El Salvador

กาแฟได้กลายมาเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศเอลซัลวาดอร์ เห็นได้ชัดเจนว่าเมล็ดกาแฟนี้สามารถทำกำไร และทำให้มีโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดี ในช่วงปี 1880 เมื่อเห็นดังนั้น ชนชั้นสูงผู้มั่งคั่งของประเทศแห่งนี้ จึงใช้อำนาจในควบคุมกาแฟทั้งหมด ในช่วงปี 1880 ถึง 1882 จึงได้มีการตรากฎหมาย “Liberal Reforms” ขึ้น ซึ่งเป็นการให้เจ้าของที่ดินมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และมีเกษตรกรเพียงไม่กี่รายเท่านั้น ที่ได้เป็นเจ้าของที่ดินทำกินในแต่ละพท้นที่ จึงทำให้เกษตรกรมากมายถูกบังคับให้ต้องออกจากไร่กาแฟ การปฏิรูปในครั้งนี้ทำให้ชาวเอลซัลวาดอร์เกือบครึ่งไม่มีที่ดินในการทำกิน และจำเป็นต้องหางานใหม่  จึงเกิดผลกระทบต่อมาก็คือ หลาย ๆ คนอยู่ภายใต้การทำงานที่กดดัน และถูกบังคับให้ทำงานมากขึ้น แต่ท้ายสุดปัญหานี้ค่อย ๆ คลี่คลายลง เมื่อประธานาธิบดีคนใหม่ได้รับเลือกตั้งในอีก 10 ปีต่อมา จึงทำให้อุตสาหกรรมการผลิตกาแฟของประเทศแห่งนี้อยู่รอด และได้พัฒนาไปต่อ แม้ในช่วงภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำครั้งใหญ่ แต่ในปัจจุบันนี้ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟก็เริ่มลืมตาอ้าปากได้ และได้มีการจัดตั้งสหกรณ์การค้าที่มีความเป็นธรรมต่อเกษตรกร เกษตรกรที่มาอยู่ในเครือข่ายนี้ จะได้รับความช่วยเหลือด้านการตลาด ตลอดจนสามารถขายกาแฟได้ในราคาที่สูงขึ้น รวมถึงเทคนิค กระบวนการผลิตเมล็ดกาแฟ และส่งออกกาแฟ

Honduras

ประเทศฮอนดูรัสก็ยังคงเป็นผู้ผลิตกาแฟชั้นนำของทวีปอเมริกากลาง นับตั้งแต่ปี 2011 หากคิดเป็นอันดับโลก จะอยู่ที่อันดับ 7 อีกทั้งยังเป็นผู้ส่งออกกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้าที่มีคุณภาพสูงรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ชาวฮอนดูรัสนั้นค่อนข้างภาคภูมิใจอย่างมากเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของประเทศของตนเอง และกาแฟ เพราะฉะนั้น อุตสาหกรรมกาแฟจึงเป็นสิ่งสำคัญของประเทศนี้มาโดยตลอด ชาวฮอนดูรัสบางคนยังถือว่า อุตสาหกรรมกาแฟมีส่วนสำคัญในการรักษาเศรษฐกิจของประเทศนี้ให้คงอยู่ ถึงแม้ว่าประเทศนี้ จะได้เผชิญกับความขัดแย้งทางการเมือง และเกิดการรัฐประหารในปี 2009 หรืออยู่ท่ามกลางสงครามกลางเมือง ชาวฮอนดูรัสต้องดิ้นรนกับความยากจน ที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้น ผู้คนกลับทำงานกันหนักมากขึ้น แต่อุตสาหกรรมกาแฟของประเทศนี้ ก็ยังคงดิ้นรนอยู่ ทำให้ชาวฮอนดูรัสสามารถที่จะรอดพ้นผ่านวิกฤตนี้ไปได้ ทำให้ตอนนี้กลายเป็นคู่แข่งสำคัญ ของประเทศผู้ผลิตกาแฟชั้นนำอย่างโคลัมเบีย และบราซิล 

ประเทศฮอนดูรัสแบ่งออกเป็นเขตปลูกกาแฟ 6 เขต โดยทั้งอุตสาหกรรมกาแฟนี้มีการจ้างงานคนกว่า 2 ล้านคน แต่ละเขตก็จะมีเมล็ดกาแฟที่มีความแตกต่างกัน รวมทั้งวัตถุประสงค์ในการปลูกที่แตกต่างกัน ทำให้การจัดหา และจ้างคนมาทำงานในมีความแพร่หลาย และทั่วถึงมากขึ้น 

Nicaragua

จากแต่เดิมเป็นผู้ผลิตกาแฟชั้นนำอันดับโลกอยู่ที่อันดับ 10 ได้ตกอันดับมาเป็นอันดับ 12 กาแฟในประเทศแห่งนี้ ปลูกและเก็บเกี่ยวใช้ในเชิงพาณิชย์ และการส่งออก ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ผืนป่าเขียวชอุ่มไว้ ในตอนแรก กาแฟได้ถูกปลูกบริเวณชายฝั่งแปซิฟิกของประเทศนิการากัว แต่ปัจจุบันกาแฟส่วนใหญ่ได้ผลิตมาจาก 3 ภูมิภาคหลักของประเทศ Segovias (ซึ่งกาแฟเหล่านี้จะ acidity สูง และมีความเป็นดอกไม้) ,Jinotega และ Matagalpa พื้นที่บริเวณนี้ และภูมิภาคเหล่านี้มีความสำคัญมากในการปลูกกาแฟ  เนื่องจากมีดินภูเขาไฟที่ค่อนข้างสมบูรณ์ พืชพรรณเขียวชอุ่ม และภูมิอากาศเขตร้อนชื้น ทำให้ต้นกาแฟได้รับสารอาหารมาหล่อเลี้ยงมากขึ้น เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟกว่า 45,000 ราย และครอบครัว ต้องพึ่งพาสินค้าการค้าขายกาแฟ เพื่อความอยู่รอด โดยส่วนใหญ่จะทำเป็นไร่ขนาดเล็ก และมีสมาชิกในครอบครัวประมาณ 1 ถึง 2 คนในการดูแล แต่ก็มีการเติบโต และมีรายได้ที่มั่นคง นอกจากนี้เกษตรกรยังสามารถปลูกพืชผักกินได้เองมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์อีกด้วย ความยั่งยืนนี้ ทำให้เกษตรกรชาวนิการากัว ลืมตาอ้าปากได้ นอกจากนี้ยังมีผลผลิตอื่นในการค้าขายได้อีกด้วย

ประเทศอื่น ๆ ที่มีการปลูกกาแฟใน Central America

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *