แฟลทไวท์ (Flat White) ครั้งหนึ่งเมนูกาแฟนี้ได้มีการเสิร์ฟอยู่ในแค่ประเทศนิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย แต่แล้วก็ได้กลายเป็นเมนูกาแฟนม ที่ผู้คนดื่มกันอย่างแพร่หลาย
เสน่ห์ของกาแฟ คือ การมีลูกเล่นที่บิดพลิ้วในวิธีการชงกาแฟ เพียงแค่สลับขั้นตอน ลดนู่น เพิ่มนี่เข้าไป ก็กลายเป็นอีกเมนูที่มอบรสชาติที่แตกต่าง สัมผัสที่ลงตัว และน่าประทับใจได้อย่างเป็นเรื่องอัศจรรย์ เมนูกาแฟที่อยู่ในร้านปัจจุบัน แบ่งตามลักษณะภายนอกที่เห็นกันได้ง่ายๆก็คือBlack Coffee และWhite Coffee ความต่างสองขั้วที่มอบรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ครองใจคอกาแฟสายนุ่มๆอย่างกาแฟนม และคอกาแฟสายเข้มอย่างกาแฟดำ แบบไม่ทับรอยกัน
โดยฝั่งกาแฟนมที่ได้รับความนิยมอย่างมากพิเศษ ทั้งจากคอกาแฟ และผู้ที่กำลังจะผันตัวเองเข้าสู่วงการกาแฟ ด้วยกลิ่นหอมเย้ายวนใจ รสชาติที่ดื่มง่าย และมีศิลปะบนถ้วยกาแฟเข้ามาร่วมด้วย ทำให้ดึงดูดผู้คนให้หลงใหลได้ไม่ยาก วันนี้เรามีเมนูกาแฟยอดนิยม ในหมู่คอกาแฟอย่างแฟลทไวท์ที่อาจจะทำให้คุณลืมโปรดแก้วโปรดของคุณอย่าง Latte หรือCappuccinoไปโดยปริยาย
แฟลทไวท์ คืออะไร ?
Espresso หรือRistretto (กาแฟช็อตที่เข้มข้นกว่า Espresso) ที่เติมนมร้อน (Steamed Milk) ลงไปโดยไม่มีโฟมนมมากเท่ากับLatte ฟองนมบนแฟลท ไวท์ จะมีเพียงเล็กน้อย บางๆเรียบๆซึ่งเป็นที่มาของชื่อเมนูกาแฟนี้นั่นเอง
เมนูกาแฟนมรสชาตินุ่มเรียบเนียนนี้ เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศออสเตรเลีย และได้รับความนิยมจากชาวออสเตรเลีย และนิวซีเเลนด์ เพราะรสชาติของกาแฟที่เข้มข้นกว่าลาเต้ แต่ยังคงมีสัมผัสที่ละมุนนุ่มของนมที่ผ่านการสตีมด้วยความร้อนไว้อย่างดี เวลาดื่มให้ความรู้สึกว่าได้ดื่มกาแฟนมจริงๆไม่ใช่เหมือนกับการดื่มนมรสกาแฟทั่วๆไป เมนูนี้จึงเหมาะกับสาวกLatte ที่อยากยกระดับการดื่มกาแฟเพิ่มขึ้นมาอีกสักหน่อย ให้ได้ดื่มด่ำกับอรรสรถของกาแฟแท้ ในปริมาณที่ลุ่มลึกมากขึ้น โดยที่ไม่ได้เข้มข้นจนถึงขั้นกาแฟดำ แต่ยังคงได้ลิ้มรสกาแฟที่อ่อนโยน นุ่ม ละมุนละไม แต่ก็แฝงไปด้วยความเเข็งแกร่งที่เพิ่มขึ้นจนยากที่จะถอนตัวไม่ให้หลงใหล
แฟลทไวท์มีที่มาจากไหนกันนะ ?
จริงๆแล้วในปัจจุบันนี้ ต้นกำเนิดของกาแฟเมนูนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มาก โดยเฉพาะ 2 ประเทศ อย่างประเทศนิวซีเเลนด์ และออสเตรเลีย
มีคำพูดของบาริสต้า Alan Preston ได้บอกว่าเขาเป็นผู้ที่คิดค้นเมนูกาแฟนมนี้ ในปี 1980 โดยมีแฟลท ไวท์ อยู่ในชื่อเมนู เมื่อเขาได้เปิดร้านกาแฟที่ซิดนีย์ในตอนนั้นใช้ชื่อว่า White Coffee-Flat โดยเป็นเครื่องดื่มที่มี Espresso และ Steamed Milk เป็นส่วนประกอบหลัก เมนูกาแฟนี้ได้กลายเป็นที่นิยมของคนในพื้นที่เป็นอย่างมาก จึงได้เปลี่ยนชื่อเมนูนี้เป็น “Flat White”
สูตรดั้งเดิมของเขามีการใช้ Double Ristretto 1 ช็อต Steamed Milk และมีฟองนมบางๆลอยตัวอยู่บนกาแฟข้างบน ในการเทนมสตรีมนั้น จะไม่มีการวาดลวดลายแบบLatte และเสิร์ฟด้วยถ้วยเซรามิก
แต่ว่าก็มีคนกล่าวอ้างถึงสิทธิ์ว่าเป็นผู้คิดเมนูกาแฟนมนี้เช่นกัน โดย Franser McInnes เขาได้บอกว่าคิดค้นเมนูนี้ตอนที่เขาทำ Cappuccino ให้กับลูกค้า เมื่อตอนที่เขาเป็นบาริสต้า และยังได้พูดถึงรายละเอียด เช่น นมที่ใช้เป็นนมไขมันต่ำมาก ซึ่งนั่นทำให้เครื่องดื่มสามารถทำโฟมนมออกมาได้ดี ที่มีลักษณะเรียบ แบน และโฟมนมที่ว่านี่จะเป็นสีขาว จึงเรียกสิ่งนี้ว่า แฟลท ไวท์
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เมนูกาแฟนี้ก็ได้กลายเป็นเมนูกาแฟนมที่ได้รับความนิยมกันอย่างต่อเนื่อง และได้รับความนิยมไปทั่วโลก ในช่วง20-30 ปีที่ผ่านมานี้ เมนูกาแฟนี้ได้แพร่กระจายเข้าไปยังทวีปยุโรป เอเชีย และอเมริกาเหนือ ซึ่งเกิดขึ้นในพร้อมๆกันในช่วงการเปิดร้านกาแฟ Specialty Coffee
การเกิดขึ้น และเริ่มเป็นที่นิยมของ Latte Art ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 ทำให้แฟลท ไวท์ ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นไปด้วย บาริสต้าต้องมองหาเมนูกาแฟใหม่ๆที่ทำให้ Latte Art มีความหลากหลายมากขึ้น เมนูกาแฟนี้จึงได้กลายมาเป็นตัวเลือกหนึ่งที่แสนพิเศษสำหรับ Latte Art ผู้คนเริ่มให้ความสนใจที่เป็นเครื่องดื่มที่มีฐานจากเอสเพรสโซ แต่ยังอยากได้ความเป็นนม และมีฟองนมนุ่มๆอยู่ แต่ไม่ได้เยอะมากขนาดนั้น แต่เพียงมีเนื้อสัมผันที่เนียน นุ่ม นั่นก็ถือว่าโอเคแล้ว
แฟลท ไวท์ มีลักษณะอย่างไร ?
ในตอนนี้กาแฟสเปเชียลตี้ หรือกาแฟพิเศษ ได้มีการพัฒนารูปแบบต่างๆออกมามากมายแฟลท ไวท์ ก็เช่นเดียวกัน ได้มีหลักการบัญญัติ หรือคำนิยามของ Cappuccino ไว้ว่าความหนาของฟองนมต้องอยู่ที่อย่างน้อย 1 เซนติเมตร แต่ว่า แฟลท ไวท์ จะต้องมีความหนาของฟองนมอยู่ที่ 0.5 เซนติเมตร โดย องค์กร Specialty Coffee Association และ World Barista Championships
หากคุยกันในเรื่องเทคนิค การทำให้ฟองนมอยู่ในความหนาระดับนี้ จะเป็นการง่ายต่อการทำ Latte Art มากกว่า เพราะมีปริมาณฟองนมที่น้อยกว่า ความหนาเเน่นน้อยกว่า จึงสามารถที่จะฝึก หรือทำลวดลายได้ง่ายขึ้น มีความละเอียด และซับซ้อนขึ้นได้
บางคนก็พูดถึงกาแฟเมนูนี้ว่าเป็นเครื่องดื่มที่สามารถแสดงถึงความเเตกต่างของกาแฟได้แบบชัดเจน เช่น ที่มาของกาแฟนั้นๆ หรือแม้แต่วิธีการคั่ว เพราะการทำแฟลท ไวท์ รสชาติของกาแฟที่ออกมาจะโดดเด่นกว่ารสชาติของนม
อัตราส่วนที่ใช้ในการชงแฟลท ไวท์ จะมีความแตกต่างอยู่บ้าง แต่โดยปกติแล้วอัตราส่วนที่ใช้เป็น 1:2 โดยใช้กาแฟ 1 กรัม ในการทำ Espresso 2 กรัม ในการทำ นี่ถือว่าเป็นอัตราส่วนพื้นฐาน แล้วมีการปรับให้แตกต่างกันออกไปตามรสนิยมของแต่ละคน
แล้วรสชาติอะไร? ที่โดดเด่นของแฟลท ไวท์
แฟลท ไวท์ ไม่ได้เป็นการดึงรสหวานของเอสเพรสโซออกมา แต่จะชูในเรื่องของความเป็นกรดขึ้นมา จึงทำให้รสชาติของกาแฟกับนมตัดกัน และที่สำคัญ Espresso ที่บาลานซ์ดี ไม่ได้หมายความว่าแฟลท ไวท์ ที่ชงด้วย Espresso นั้นจะมีบาลานซ์ที่ดีตามไปด้วย
ส่วนในเรื่องช็อต Espresso ที่ใช้ก็เป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจ บางคนก็เลือกที่จะใช้ 1 ช็อตในการทำ แต่บางคนที่ชอบกาแฟที่รสชาติเข้มข้นหน่อย ก็เลือกใช้กาแฟ 2 ช็อต
เคล็ดลับในการชงแฟลท ไวท์ ให้ออกมาดี ไม่ใช่เรื่องยาก
แฟลท ไวท์ ใน 1 เสิร์ฟ กาแฟที่ได้จะน้อยกว่า Latte และ Cappuccino แต่ว่าอย่างไรก็ตาม ยังคงเป็นกาแฟที่ใส่นมในปริมาณ 2 ใน 3 เพราะฉะนั้นนมจึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากๆ ในเมนูกาแฟเมนูนี้ และบาริสต้าจึงจำเป็นต้องเตรียมนม และใส่ใจในการสตีมนมอีกด้วย
นมเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยดึงรสชาติของแฟลท ไวท์ให้ออกมาดี หรือไม่ดี กาแฟที่คั่วในระบบที่เหมาะสม สำหรับการทำEspresso กับนม กลายเป็นเมนูกาแฟนม โดยปกติมักจะใช้กาแฟระดับคั่วกลาง หรือคั่วเข้มกว่าเล็กน้อย จึงมีนักคั่วกาแฟบางคน ได้ทำการพัฒนากาแฟแบลนด์ที่เหมาะสมที่จะใช้ชงกับนมโดยเฉพาะ (Milk-Based-Blends) ซึ่งจะเสริมให้กาแฟถ้วยนั้นมีความครีมมี่ และความหวานที่มากยิ่งขึ้น
และที่สำคัญถึงจะเลือกใช้วัตถุดิบที่ดี ไม่ว่าจะเป็นกาแฟ หรือนม แต่ที่สำคัญอีกอย่างก็คือฝีมือของการทำไมโครโฟมที่เนื้อเนียนละเอียด จะต้องนุ่ม และมีฟองน้อยที่สุด โดยสตีมนมให้อากาศเข้าไปในขณะที่ให้ความร้อน แนะนำว่าอุณหภูมิที่ใช้ไอน้ำอยู่ที่ 38 องศาเซลเซียส หรือ 100 องศาฟาเรนไฮต์ เพื่อไมโครโฟมที่เนียนนุ่มที่สุด ในกระบวนการนี้ฟองอากาศขนาดเล็กจะเข้าไปอยู่ในโปรตีนนม
การที่พยายามหมุน และตีจะช่วยให้ฟองนมขนาดใหญ่หายไป ซึ่งตัวฟองนมใหญ่ หรือเล็กจะส่งผลต่อ Mouthfeel ยิ่งละเอียดก็จะเนียนนุ่มมากขึ้นเท่านั้น ทำให้การดื่มแฟลท ไวท์ของคุณเป็นประสบการณ์ที่ดี
ประเภทของนมที่นมมาทำฟองนม หรือแม้แต่การเทนมก็จะมีความแตกต่างกันออกไป เช่น นมถั่วเหลืองจะเกิดฟองง่ายกว่านมวัว และถ้านมเกิดฟองง่ายยิ่งต้องระวังในการสตีมนม
Flat White เราสามารถทำดื่มเองได้หรือไม่ ?
ปัจจุบันนี้คอกาแฟนิยมทำเครื่องดื่มคุณภาพดี ดื่มเองกันที่บ้านมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วเมนูกาแฟนมเมนูนี้ล่ะ สามารถทำเองที่บ้านได้ไหม
สำหรับผู้ที่เริ่มต้นก็ต้องใช้เวลาพอสมควร กว่าที่จะเรียนรู้เทคนิคต่างๆในการสตีมนม หรือเทนมให้มีสัมผัสที่ดี ซึ่งอาจจะเป็นเวลาหลายสัปดาห์ จนถึงเวลาหลายเดือนที่จะทำให้แฟลท ไวท์เป็นเมนูกาแฟนมที่มีคุณภาพที่ดี ด้วยอุปกรณ์หลายชิ้นที่ใช้กันในร้านกาแฟ ซึ่งผู้บริโภคหลายๆคนไม่อาจจะเข้าถึงในส่วนตรงนี้ได้
แต่ทุกวันนี้อุปกรณ์ทำกาแฟโดยเฉพาะ Espresso สำหรับในบ้านที่พัฒนามากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เครื่องชงคุณภาพสูง อุปกรณ์ในการชงกาแฟที่ดี สามารถหาได้ง่ายมากขึ้น ที่สำคัญคือ สามารถสตีมนมที่มีความเนียนนุ่ม พอที่จะทำไมโครโฟมสำหรับแฟลท ไวท์
ท้ายที่สุดแล้ว การดื่มกาแฟแบบไหนเป็นความชอบส่วนตัวในรสชาติที่แตกต่าง หากเราลงทุนกับเครื่องชงกาแฟที่บ้าน เราก็สามารถหาความหลากหลายในการดื่มกาแฟแบบใหม่ๆได้ ถึงแม้ว่าจะต้องฝึกฝนเป็นเวลานาน แต่ก็จะได้กาแฟที่ลงตัวสำหรับคุณ
การรู้จักสังเกต พิจารณาถึงปัจจัยหลายๆอย่างในการชงกาแฟ รวมทั้งเครื่องมือในการชงต่างๆ อย่างประเภทของนม เหยือกนม ก็สามารถทำให้เราชงกาแฟออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมนูกาแฟที่มี Espresso เป็นฐาน แต่ละที่ต่างๆทั่วโลก ก็มีความแตกต่างกันอยู่แฟลท ไวท์ ก็เช่นเดียวกัน ในช่วงหลายๆปีที่ผ่านมานี้ ก็ได้กลายเป็นเมนูกาแฟยอดนิยมเมนูหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะมีการคิดค้นเมนูใหม่ๆขึ้นมามากมาย