กาแฟไข่ ความแปลกใหม่ แต่ลงตัว ที่ไม่น่าเข้ากันได้ ของสองสิ่ง ระหว่าง กาแฟกับไข่ เกิดขึ้นเป็นกาแฟเมนูใหม่ มีเอกลักษณ์ ที่ใคร ๆ ก็อยากลิ้มลองเมื่อพูดถึง “กาแฟเวียดนาม”
หลาย ๆ คนคงคุ้นเคยกับส่วนผสมต่าง ๆ ในสูตรเครื่องดื่มเมนูกาแฟ ที่มีอยู่เยอะเเยะมากมายหลากหลายชนิดด้วยกัน ซึ่งมีตั้งแต่ นม ครีม เนย ช็อคโกแลต สมุนไพร ชา เหล้า และเครื่องเทศ จนไปถึงน้ำผลไม้ต่าง ๆ ตามกระแส หรือความนิยมในแต่ละช่วงเวลา
นอกจากนี้แล้ว คอกาแฟบางท่าน อาจจะรู้สึกประหลาดใจกันบ้าง ถ้าจะบอกว่า ประเทศเวียดนาม ได้นำไข่ มาเป็นส่วนผสมหลักในเมนูกาแฟ และได้กลายเป็นเมนูที่ได้รับความสนใจ และเป็นกลายเป็นที่นิยมอย่างไม่น่าเชื่อ
กาแฟไข่เวียดนามคืออะไร?
แต่ความจริงแล้ว เมนูกาแฟผสมไข่ หรือ Egg Coffee ไม่ใช่เมนูใหม่ แต่มีมานานแล้วพอสมควร และเมนูนี้ก็ได้ทำดื่มกันในทวีปยุโรป แถบกลุ่มแสกนดิเนเวีย และหลาย ๆ ประเทศ ในทวีปเอเชีย แต่ที่มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักที่สุด คงจะไม่พ้น กาแฟไข่เวียดนาม เมนูกาแฟที่มีรสชาติแปลกใหม่ ที่ใช้ไข่แดงตีกับนมข้นหวาน หรือน้ำตาลทราย จนเป็นฟองครีม ลักษณะเหนียวนุ่ม และเติมส่วนผสมอื่น ๆ ลงไปตามสูตร ก่อนที่จะนำไปโปะไว้ด้านบนกาแฟดำ ที่มีรสชาติเข้มข้น
กาแฟไข่เวียดนาม กลายเป็นเมนูกาแฟยอดนิยมของชาวเวียดนาม และในกลุ่มนักท่องเที่ยวที่อยากจะทดลองดื่มเมนูนี้ดู ว่ากาแฟไข่รสชาติเป็นอย่างไร อร่อยแค่ไหน
ในบรรดาเว็บไซต์เกี่ยวกับการท่องเที่ยว และอาหารสากลหลายเว็บไซต์ ยกให้ “กาแฟไข่เวียดนาม” เป็นเมนูหนึ่งที่มักได้รับคำแนะนำให้ทดลองดื่ม หรือประเภท “must-try” ถ้าหากได้มีโอกาสไปเที่ยวประเทศเวียดนาม อีกอย่างจะได้รู้เลยว่า มีการจัดอันดับร้านดัง ที่ทำเมนูกาแฟไข่ ได้อร่อย พร้อมแนะนำว่าให้ไปหาทดลองชิมกัน ส่วนใหญ่จะเป็นร้านดั้งเดิม แนว ๆ ออริจินัล ตกแต่งร้านสไตล์ท้องถิ่น เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่ซ้ำใคร ทั้งในโฮจิมินห์ และฮานอย
แต่แท้จริงแล้ว ไม่ว่าจะเมนูกาแฟไหนก็ตาม แต่เมื่อดื่มแล้ว รสชาติจะถูกปาก หรือถูกใจใครหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความชอบของผู้ดื่ม ซึ่งเป็นเรื่องรสนิยมของแต่ละคนจริง ๆ
ประเทศเวียดนาม เริ่มปลูกกาแฟตั้งแต่ปี ค.ศ. 1857 ในยุคที่เป็นอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส และปลูกสายพันธุ์โรบัสต้าเป็นส่วนใหญ่ เป็นไร่กาแฟเชิงพาณิชย์ เก็บเกี่ยวกันเสร็จ ก็ส่งกาแฟกลับไปขายในทวีปยุโรป นำไปทำกาแฟสำเร็จรูป ส่งผลให้เวียดนามติดอันดับที่ 2 ของผู้ผลิตกาแฟมากที่สุดในโลก รองจากบราซิล ในแง่ของปริมาณการผลิต
แต่ว่าไม่มีสายพันธุ์กาแฟที่โดดเด่น หรือมีชื่อเสียงเหมือนแหล่งปลูกอื่น ๆ แต่ประเทศเวียดนามกลับโด่งดังด้านเมนูกาแฟ มีอยู่ 2 เมนู ก็คือ กาแฟไข่เวียดนาม (Vietnam Egg Coffee) และ กาแฟหยดสไตล์เวียดนาม (Vietnam Coffee Filter) นั่นเอง
การดื่มกาแฟไม่เคยจางหายไปจากชาวเวียดนามตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน แม้ว่าช่วง 10 ปีหลังมานี้ ร้านกาแฟยุคใหม่มักจะผสมผสานวัฒนธรรมท้องถิ่น และตะวันตกเข้าด้วยกัน ผ่านการตกแต่งร้าน จะมีอยู่แทบทุกที่ รวมไปถึงแบรนด์จากต่างชาติดัง ๆ ก็ทยอยเข้ามาเปิดร้าน มีหลากหลายเมนูดังจากทั่วโลก ที่ใช้กาแฟอาราบิก้า เป็นหลัก มาให้ลูกค้าได้เลือกดื่มกัน แต่วิธีการดื่มกาแฟแบบดั้งเดิมของชาวเวียดนาม ก็ไม่ได้จางหายไปไหน
เราก็จะยังคงเห็นชาวเวียดนาม นิยมดื่มกาแฟเมนูดั้งเดิมแบบท้องถิ่น โดยใช้กาแฟโรบัสต้าเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการนั่งจิบพลาง ๆ ระหว่างบทสนทนา ตามร้านแบบเก่า หรือนั่งจืบบนเก้าอี้กับโต๊ะเล็ก ๆ หน้าร้าน ด้านหน้าร้านกาแฟก็จะเป็นถนนที่มีการสัญจรไปมา ก็ดูเป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของท้องถิ่น
กาแฟไข่เวียดนาม ที่มีเนื้อครีมที่เนียนนุ่ม มีส่วนผสมของไข่แดงเป็นหลัก และตามด้วยน้ำตาลทราย และผงโกโก้ที่โรยอยู่ด้านบนหน้า จะเข้ากับกาแฟดำที่มีรสชาติเข้มข้น ได้อย่างลงตัวขนาดนั้น
ตัวครีมไข่แดงนั้น มีรสชาติที่ไม่เหมือนไข่เลย มีรสคล้าย ๆ กับวานิลลามากกว่า เวลาดื่มจะรู้สึกเหมือนกันว่า ได้กินขนมหวานไปในคราวเดียวกัน บางคนก็บอกกันว่า รสชาติเหมือนขนม ทีรามิสสุ (Tiramisu) ขนมหวานที่มีรสกาแฟ ชนิดหนึ่งจากประเทศอิตาลี ยังไงยังงั้นกันเลยทีเดียว
ตอนขณะดื่ม หลาย ๆ คนก็อดจะนำไปเปรียบเทียบกับกับกาแฟผสมนมที่เป็นเมนูยอดฮิตอย่าง คาปูชิโน และลาเต้ไม่ได้เหมือนกัน ว่ามีรสชาติแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน ต้องลองหาดื่มกันดู
กาแฟไข่ มีชื่อเรียกอีกอย่างเป็นภาาาท้องถิ่นว่า Ca Phe Trung ออกเสียงภาษาไทยได้ว่า “ก่า-เฟ-จึ๋ง” ซึ่งเป็นสูตรดั้งเดิมของชาวเวียดนามตอนเหนือ มีต้นกำเนิดมาประมาณ 80 ปี ส่วนผสมหลัก ๆ ในตอนแรกก็จะมีกาแฟโรบัสต้า, ไข่ไก่ (เฉพาะไข่แดงเท่านั้น), นมข้นหวาน, ชีสและเนย ในตอนหลังมีการนำกาแฟที่เบลนด์ระหว่างอาราบิก้า กับโรบัสต้ามาใช้ นอกจากจะได้รสชาติกาแฟที่เข้มข้นแล้ว ยังได้กลิ่นของกาแฟที่หอมเข้ามาเสริมให้ดียิ่งขึ้นไปอีกด้วย
ตอนที่นำมาเสิร์ฟให้กับลูกค้า กาแฟไข่ ประกอบด้วย 2 เลเยอร์ คือ ฟองครีมไข่แดงที่ลอยอยู่ข้างบน และกาแฟดำอยู่ข้างล่าง ซึ่งดูสวยงาม แปลกตา และน่ารับประทานไม่น้อยกันเลยทีเดียว
เรื่องราวของกาแฟไข่ ในดินแดนสกุลเหงียน ได้เริ่มต้นขึ้นในช่วงศตวรรษ 1940 เป็นช่วงที่เวียดนาม ไดเ้ทำสงครามกับชาวฝรั่งเศส ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนอาหาร และของใช้ไปทั่ว รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ที่เป็นส่วนผสมในการชงกาแฟ จึงมีบาร์เทนเดอร์คนหนึ่ง ที่ทำงานประจำอยู่ในโรงแรม ที่ชื่อว่า โซฟีเทลลีเจนท์ เมโทรโพล ได้คิดที่จะนมส่วนผสมอื่น ๆ มาแทนนมสด แรก ๆ ก็มีการลองผิดลองถูกอยู่พักใหญ่ จนสุดท้ายแล้วก็ลงตัวอยู่ที่การนำไข่แดง และน้ำตาลทราย มาตีจนกลายเป้นเนื้อครีมนุ่ม ลักษณะเหมือนครีมข้น เพื่อแทนการใช้นมสด
บาร์เทนเดอร์คนนี้ เป็นชาวเวียดนาม ที่มีชื่อว่า “เหงียน วัน เกียง” ที่รุ่นลูกได้สานต่อกิจการจากรุ่นพ่อ ในปี ค.ศ. 1946 เหงียน วัน เกียง ได้ตัดสินใจเปิดร้านกาแฟในย่านธุรกิจ โอลด์ ควอเตอร์ ของฮานอย ชื่อร้านว่า Giang Cafe หรือ Ca Phe Giang ในภาษาเวียดนาม และเป็นร้านกาแฟร้านแรกที่เสิร์ฟเมนูกาแฟไข่ให้ลูกค้า และรสชาติก็ถูกใจคอกาแฟชาวฮานอยมาก ๆ เสียด้วย
ร้านนี้ตั้งอยุ่ในตรอกแคบ ๆ มักจะมีคอกาแฟท้องถิ่น และชาวต่างชาติก็แวะเวียนมาดื่มกาแฟไข่ต้นตำหรับ แบบไม่ขาดสายกันเลยทีเดียว อารมณ์ประมาณว่า ตามล่าหาร้านกาแฟท้องถิ่น ดั้งเดิมที่ซ่อนอยู่ตามตรอกซอกซอยลึกลับ
ว่ากันว่าเมนูกาแฟนี้ จะดื่มกันให้อร่อยต้องดื่มตอนที่ยังร้อน ดังนั้นร้าน Giang Cafe เวลาเสิร์ฟกาแฟเมนูนี้ จะนำถ้วยกาแฟไข่ มาวางในจานที่มีน้ำร้อนอยู่ เพื่อรักษารสชาติของกาแฟ และไข่ให้ไว้ได้นานที่สุด
นอกจากนี้แล้ว ในประเทศเวียดนามตอนเหนือ และตอนใต้ ก็นำเสนอเมนูกาแฟไข่ ในแบบของตนเอง เรียกกันได้ว่า เป็นสัตรลับของแต่ละร้าน มาขายกันบ้าง มีการนำส่วนผสมที่ต่างจากเดิมมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น เหล้ารัมเลม่อน โกโก้ หรือน้ำผึ้ง และมีทั้งเมนูร้อน และเมนูเย็น แต่ที่สุดแล้ว ร้านที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ก็ยังคงเป็นร้านต้นตำหรับ
ร้านกาแฟไข่ ที่ติดอันดับ อร่อย และมีบรรยากาศน่านั่งส่วนใหญ่ จะตั้งอยู่ตามเมืองที่เป็นแหล่งท้องเที่ยวดัง ๆ ทั้งดายัง โฮจิมินห์ และฮานอย มักจะเป็นร้านที่ไกด์ท้องถิ่นชอบพานักท่องเที่ยวต่างชาติไปลองดื่มกาแฟไข่กัน นอกจากร้านต้นตำหรับอย่าง Giang Cafe ยังมี Cafe Lam Hanoi, Goc Hanoi, Pho Co Hanoi, Okkio Cafe, The Note Coffee Hanoi, Cafe Dihn, Cafe Nang, Cafe Trung, The Hideout Cage, La Bicicleta Coffee, Hue Cafe Roastery Thao Dien เป็นต้น
มีร้านกาแฟอินดี้ในฮานอย ชื่อว่า Cafe Dihn ได้รับความนิยมไม่น้อยเลย กับเมนูกาแฟไข่ เพราะหน้าตาที่มีเอกลักษณ์เเตกต่างจากร้านอื่น ซึ่งจุดขายก็คือการวาดบนหน้ากาแฟฟองครีมไข่แดง ด้วยไซรัปช็อคโกเเลต คล้าย ๆ กับลาเต้อาร์ต และเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก
กาแฟไข่เวียดนาม สามารถทำได้ง่ายๆที่บ้าน
ถ้าเบื่อรสชาติแบบเดิม ๆ ของกาแฟดำ อยากเติมความแปลกใหม่ กาแฟไข่ ก็เป็นอีกเมนูหนึ่ง ที่คุณสามารถทำได้เองที่บ้าน แค่มีส่วนผสมตามที่กำหนดไว้ ก็ทำดื่มได้แล้ว ถ้าหาไม่มีกาแฟเเบรนด์เวียดนาม ก็สามารถใช้กาแฟอาราบิก้าคั่วเข้มแทนได้
ส่วนอุปกรณ์การชงกาแฟ จะเป็นฟิลเตอร์สไลต์เวียดนาม หรือเป็นกาแฟดริปอเมริกาโน่ กาแฟเอสเพรสโซ หรือกาแฟจากโมก้าพอตก็ได้ ขอให้เป็นกาแฟที่มีบอดี้เข้มข้น มีกลิ่นคั่วไหม้ และมีน้ำตาลทราย หรือนมข้นหวานก็สามารถทำได้แล้ว และยังสามารถประยุกต์ได้ตามใจชอบ หรือจะใช้ไซรัปวานิลลาให้มีกลิ่นหอมหวาน หรือถ้ามีเนย ชีส ก็สามารถใส่ได้เลย ส่วนไข่ไก่ ก็ใช้ไข่แดง 2 ฟอง แนะนำเป็นไข่ไก่ออแกนิคที่กินดิบได้ และไม่คาว
วิธีทำกาแฟไข่ ก็ไม่ได้มีความยุ่งยากอะไรมากนัก เริ่มจากการใช้แก้วใส ที่เห็นเลเยอร์แยกชั้นระหว่างกาแฟดำ กับครีมไข่ ใส่ส่วนผสมตามความชอบ ได้แก่ น้ำตาลทราย หรือนมข้นหวาน ถ้ามีชีส หรือเนยก็สามารถใส่ลงไปได้ด้วยใช่เดียวกัน ถ้าอยากให้มีกลิ่นหอมของวานิลลา ก็สามารถใส่กลิ่น หรือไซรัปลงไปด้วยได้ ตีและปั่นให้เข้ากัน จนกลายเป็นฟองครีม เนื้อเนียน นุ่ม จากนั้นใช้ฟองครีมโปะลงไปด้านบนกาแฟ สัดส่วนของกาแฟ และไข่ ปกติจะเป็น 50:50 แต่สามารถปรับเป็น 70:30 หรือ 60:40 ก็ได้ตามความชอบของแต่ละคน หลังจากนั้น ก็โรยผงโกโก้ หรือผงอบเชยลงบนฟองครีม เป็นอันเสร็จ และยกขึ้นจิบ ลิ้มรสกาแฟไข่กันได้เลย
เคล็ดลับสำคัญ ที่ทำให้ดื่มกาแฟไข่อย่างอร่อย ก็คือ ดื่มตอนร้อน หรืออุ่น อย่าปล่อยให้เย็น จะเสียรสชาติได้
แม้ว่าต้นกำเนิดจาก 80 ปีที่ผ่านมา ที่ฮานอย เป็นเมนูกาแฟที่หาดื่มได้ทั่ว ๆ ไปตามร้านกาแฟ ในประเทศเวียดนาม ซึ่งความนิยมไม่ต่างจากกาแฟใส่นมทั่ว ๆ ไปเลย
ปัจจุบันนี้ กาเฟ่จึ๋ง หรือกาแฟไข่เวียดนาม ได้กลายเป็นเมนูหนึ่งจากเอเชีย ที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ชาวต่างชาติ หรือนักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อย ที่เดินทางไปสัมผัสดินแดนที่มีวัฒนธรรม ธรรมชาติ และร่องรอยประวัติศาสตร์ ที่เต็มไปด้วยมนต์สเน่ห์อย่างประเทศเวียดนาม ก็คงต้องขอลองชิมเมนู กาแฟไข่เวียดนาม แบบต้นตำหรับดูสักครั้งหนึ่ง